วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

ตรวจสอบและทบทวน


          ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขึ้นการประเมินการเรียนรู้อิงมาตรฐานปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการเขียนระดับคุณภาพของผลการเรียนรู้ซึ่งอาจใช้แนวทางการกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด Solo taxonomy การเรียนรู้อย่างลุ่มลึกไม่ใช่เรียนแบบผิวเผินๆหรือแนว
ทางอื่นๆ


ตรวจสอบและทบทวน



ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการ เรียนรู้ด้วยใช้กระบวนการของทบทวนตนเองหลังสอน ที่ช่วยให้เข้าใจการเรียนการสอน ในการตอบสนอง ความต้องการ 4 ประการ คือ ด้านวัตถุประสงค์ ด้านค่านิยม ด้านประสิทธิผล และด้านความพึงพอใจในตนเอง


การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ระดับปฐมวัย


          เมื่อมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องมีการวัดผลประเมินผลเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ถึงพัฒนาการ ผลผลิตและผลย้อนกลับจากการจัดกิจกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูผู้สอนที่ต้องนำผลการประเมินที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของตนเองต่อไป ในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษานั้นสามารถวัดผลแล้วสรุปออกมาเป็นผลสัมฤทธิ์ที่มีค่าเป็นตัวเลข เกรด ค่าเฉลี่ยร้อยละได้แต่สำหรับเด็กระดับอนุบาลหรือปฐมวัยที่ไม่สามารถอ่าน เขียนหนังสือได้ การวัดผลการเรียนรู้เป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละจึงเป็นไปได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับชั้นอนุบาลในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครหรือโรงเรียนของรัฐบาล

ในการประเมินพัฒนาการของเด็กอายุ 3-6 ปี เป็นการประเมินพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก ซึ่งถือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดในแต่ละวัน แล้วนำข้อมูลการประเมินมาพิจารณาปรับปรุง วางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนาตามจุดหมายของหลักสูตร การประเมินพัฒนาการยึดหลัก ดังนี้ 

1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก
2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
3. สภาพการประเมินมีลักษณะเช่น เดียวกับการปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน
4. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน เลือกใช้เครื่องมือและจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
5. ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายเหมาะสมกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลาย ๆ ด้าน ไม่เป็นการทดสอบเด็ก
6. การวัดและประเมินก่อนจัดการเรียนรู้เป็นการวัดและประเมินความรู้พื้นฐานก่อนการจัดการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้ทั้งนี้ เพื่อศึกษาข้อมูลความรู้พื้นฐานของเด็ก โดยใช้การสังเกตและการสนทนาซักถามความรู้ / ประสบการณ์เดิมของเด็ก
7. การวัดและประเมินระหว่างการจัดการเรียนรู้เป็นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้หลังจากเด็กได้รับการจัดประสบการณ์ ตามที่กำหนดไว้ในจุดประสงค์การเรียนรู้ของ แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ การสังเกต การสนทนา การสัมภาษณ์ และการรวบรวมวิเคราะห์ผลงานในขณะเด็กปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน และบันทึกไว้ในการจัดการเรียนรู้ (บันทึกหลังสอน) ของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ แล้วนำผลการวัดมาประเมิน มาวิเคราะห์พิจารณาปรับปรุงพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มและปรับปรุง พัฒนากิจกรรมในโอกาสต่อไป
8. การวัดและประเมินหลังการจัดการเรียนรู้เป็นการวัดและประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยนำข้อมูลจากการวัดและประเมินระหว่างการจัดการเรียนรู้และสังเกตพฤติกรรม ขณะเด็กทำกิจกรรมประจำวันและพฤติกรรมที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งครูจดบันทึกไว้มาวิเคราะห์ สรุปประเมินพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามจุดประสงค์ อบ.02 โดยสรุปประเมินอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

การประเมินเด็กปฐมวัยใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมการจัดประสบการณ์ ได้แก่
1. การสังเกตจากครู
2. การบันทึกพฤติกรรม
3. การสนทนา 
4. การสัมภาษณ์
5. การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็กที่เก็บอย่างมีระบบ
(หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546)

จะเห็นได้ว่าไม่ว่าครูจะจัดกิจกรรมรูปแบบใดก็แล้วตามต้องมีการประเมิน ตรวจสอบผลการจัดกิจกรรมเพื่อนำข้อมูลที่ไปได้ไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนาการสอนของตนเองให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับหลักสูตร และเพื่อพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี คนเก่ง เหมาะสมตามวัยต่อไป






ตรวจสอบและทบทวน


                ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้นการบูรณาการความรู้ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนขึ้นจากความรู้ความคิดและประสบการณ์ของตนหรือประยุกต์จากทฤษฎีและหลักการทั้งของไทยและต่างประเทศเพื่อการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในการคิดการเผชิญสถานการณ์การตัดสินใจและการแก้ปัญหาการพัฒนาทางด้านค่านิยมจริยธรรมเจตคติต่างๆการพัฒนาทางด้านการคิดการปฏิสัมพันธ์และการทำงานเป็นกลุ่มรวมทั้งการปฏิบัติและการแก้ปัญหาต่างๆรวมทั้งพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษา   พ. ศ. 2542

ตรวจสอบทบทวน



ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้นั้นการเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลปฏิบัติการผลิตหรือจัดหาสื่อที่เกี่ยวข้องเรียนการวางแผนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ได้ดำเนินการแล้วการนำเสนอสาระความรู้ในรูปแบบดิจิทัลอาทิ Power point



ตรวจสอบและทบทวน (Review and Reflect on your learning)



ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล ปฏิบัติการเขียนแผน จัดการเรียนรู้ด้วยเขียนแผนการสอนตามรูปแบบ the STUDIES Model ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้อง กับสาขาวิชาเอกที่เรียน โดยกําหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ และจัดหาหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ประกอบบทเรียน


Mind Mapping









Mind Mapping








Mind Mapping







Mind Mapping









Mind Mapping