วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

ตรวจสอบและทบทวน



ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการ เรียนรู้ด้วยใช้กระบวนการของทบทวนตนเองหลังสอน ที่ช่วยให้เข้าใจการเรียนการสอน ในการตอบสนอง ความต้องการ 4 ประการ คือ ด้านวัตถุประสงค์ ด้านค่านิยม ด้านประสิทธิผล และด้านความพึงพอใจในตนเอง


การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ระดับปฐมวัย


          เมื่อมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องมีการวัดผลประเมินผลเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ถึงพัฒนาการ ผลผลิตและผลย้อนกลับจากการจัดกิจกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูผู้สอนที่ต้องนำผลการประเมินที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของตนเองต่อไป ในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษานั้นสามารถวัดผลแล้วสรุปออกมาเป็นผลสัมฤทธิ์ที่มีค่าเป็นตัวเลข เกรด ค่าเฉลี่ยร้อยละได้แต่สำหรับเด็กระดับอนุบาลหรือปฐมวัยที่ไม่สามารถอ่าน เขียนหนังสือได้ การวัดผลการเรียนรู้เป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละจึงเป็นไปได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับชั้นอนุบาลในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครหรือโรงเรียนของรัฐบาล

ในการประเมินพัฒนาการของเด็กอายุ 3-6 ปี เป็นการประเมินพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก ซึ่งถือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดในแต่ละวัน แล้วนำข้อมูลการประเมินมาพิจารณาปรับปรุง วางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนาตามจุดหมายของหลักสูตร การประเมินพัฒนาการยึดหลัก ดังนี้ 

1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก
2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
3. สภาพการประเมินมีลักษณะเช่น เดียวกับการปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน
4. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน เลือกใช้เครื่องมือและจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
5. ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายเหมาะสมกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลาย ๆ ด้าน ไม่เป็นการทดสอบเด็ก
6. การวัดและประเมินก่อนจัดการเรียนรู้เป็นการวัดและประเมินความรู้พื้นฐานก่อนการจัดการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้ทั้งนี้ เพื่อศึกษาข้อมูลความรู้พื้นฐานของเด็ก โดยใช้การสังเกตและการสนทนาซักถามความรู้ / ประสบการณ์เดิมของเด็ก
7. การวัดและประเมินระหว่างการจัดการเรียนรู้เป็นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้หลังจากเด็กได้รับการจัดประสบการณ์ ตามที่กำหนดไว้ในจุดประสงค์การเรียนรู้ของ แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ การสังเกต การสนทนา การสัมภาษณ์ และการรวบรวมวิเคราะห์ผลงานในขณะเด็กปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน และบันทึกไว้ในการจัดการเรียนรู้ (บันทึกหลังสอน) ของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ แล้วนำผลการวัดมาประเมิน มาวิเคราะห์พิจารณาปรับปรุงพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มและปรับปรุง พัฒนากิจกรรมในโอกาสต่อไป
8. การวัดและประเมินหลังการจัดการเรียนรู้เป็นการวัดและประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยนำข้อมูลจากการวัดและประเมินระหว่างการจัดการเรียนรู้และสังเกตพฤติกรรม ขณะเด็กทำกิจกรรมประจำวันและพฤติกรรมที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งครูจดบันทึกไว้มาวิเคราะห์ สรุปประเมินพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามจุดประสงค์ อบ.02 โดยสรุปประเมินอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

การประเมินเด็กปฐมวัยใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมการจัดประสบการณ์ ได้แก่
1. การสังเกตจากครู
2. การบันทึกพฤติกรรม
3. การสนทนา 
4. การสัมภาษณ์
5. การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็กที่เก็บอย่างมีระบบ
(หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546)

จะเห็นได้ว่าไม่ว่าครูจะจัดกิจกรรมรูปแบบใดก็แล้วตามต้องมีการประเมิน ตรวจสอบผลการจัดกิจกรรมเพื่อนำข้อมูลที่ไปได้ไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนาการสอนของตนเองให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับหลักสูตร และเพื่อพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี คนเก่ง เหมาะสมตามวัยต่อไป






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น