วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

ตรวจสอบและทบทวน


          ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขึ้นการประเมินการเรียนรู้อิงมาตรฐานปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการเขียนระดับคุณภาพของผลการเรียนรู้ซึ่งอาจใช้แนวทางการกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด Solo taxonomy การเรียนรู้อย่างลุ่มลึกไม่ใช่เรียนแบบผิวเผินๆหรือแนว
ทางอื่นๆ


ตรวจสอบและทบทวน



ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการ เรียนรู้ด้วยใช้กระบวนการของทบทวนตนเองหลังสอน ที่ช่วยให้เข้าใจการเรียนการสอน ในการตอบสนอง ความต้องการ 4 ประการ คือ ด้านวัตถุประสงค์ ด้านค่านิยม ด้านประสิทธิผล และด้านความพึงพอใจในตนเอง


การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ระดับปฐมวัย


          เมื่อมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องมีการวัดผลประเมินผลเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ถึงพัฒนาการ ผลผลิตและผลย้อนกลับจากการจัดกิจกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูผู้สอนที่ต้องนำผลการประเมินที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของตนเองต่อไป ในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษานั้นสามารถวัดผลแล้วสรุปออกมาเป็นผลสัมฤทธิ์ที่มีค่าเป็นตัวเลข เกรด ค่าเฉลี่ยร้อยละได้แต่สำหรับเด็กระดับอนุบาลหรือปฐมวัยที่ไม่สามารถอ่าน เขียนหนังสือได้ การวัดผลการเรียนรู้เป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละจึงเป็นไปได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับชั้นอนุบาลในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครหรือโรงเรียนของรัฐบาล

ในการประเมินพัฒนาการของเด็กอายุ 3-6 ปี เป็นการประเมินพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก ซึ่งถือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดในแต่ละวัน แล้วนำข้อมูลการประเมินมาพิจารณาปรับปรุง วางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนาตามจุดหมายของหลักสูตร การประเมินพัฒนาการยึดหลัก ดังนี้ 

1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก
2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
3. สภาพการประเมินมีลักษณะเช่น เดียวกับการปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน
4. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน เลือกใช้เครื่องมือและจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
5. ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายเหมาะสมกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลาย ๆ ด้าน ไม่เป็นการทดสอบเด็ก
6. การวัดและประเมินก่อนจัดการเรียนรู้เป็นการวัดและประเมินความรู้พื้นฐานก่อนการจัดการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้ทั้งนี้ เพื่อศึกษาข้อมูลความรู้พื้นฐานของเด็ก โดยใช้การสังเกตและการสนทนาซักถามความรู้ / ประสบการณ์เดิมของเด็ก
7. การวัดและประเมินระหว่างการจัดการเรียนรู้เป็นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้หลังจากเด็กได้รับการจัดประสบการณ์ ตามที่กำหนดไว้ในจุดประสงค์การเรียนรู้ของ แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ การสังเกต การสนทนา การสัมภาษณ์ และการรวบรวมวิเคราะห์ผลงานในขณะเด็กปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน และบันทึกไว้ในการจัดการเรียนรู้ (บันทึกหลังสอน) ของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ แล้วนำผลการวัดมาประเมิน มาวิเคราะห์พิจารณาปรับปรุงพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มและปรับปรุง พัฒนากิจกรรมในโอกาสต่อไป
8. การวัดและประเมินหลังการจัดการเรียนรู้เป็นการวัดและประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยนำข้อมูลจากการวัดและประเมินระหว่างการจัดการเรียนรู้และสังเกตพฤติกรรม ขณะเด็กทำกิจกรรมประจำวันและพฤติกรรมที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งครูจดบันทึกไว้มาวิเคราะห์ สรุปประเมินพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามจุดประสงค์ อบ.02 โดยสรุปประเมินอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

การประเมินเด็กปฐมวัยใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมการจัดประสบการณ์ ได้แก่
1. การสังเกตจากครู
2. การบันทึกพฤติกรรม
3. การสนทนา 
4. การสัมภาษณ์
5. การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็กที่เก็บอย่างมีระบบ
(หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546)

จะเห็นได้ว่าไม่ว่าครูจะจัดกิจกรรมรูปแบบใดก็แล้วตามต้องมีการประเมิน ตรวจสอบผลการจัดกิจกรรมเพื่อนำข้อมูลที่ไปได้ไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนาการสอนของตนเองให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับหลักสูตร และเพื่อพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี คนเก่ง เหมาะสมตามวัยต่อไป






ตรวจสอบและทบทวน


                ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้นการบูรณาการความรู้ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนขึ้นจากความรู้ความคิดและประสบการณ์ของตนหรือประยุกต์จากทฤษฎีและหลักการทั้งของไทยและต่างประเทศเพื่อการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในการคิดการเผชิญสถานการณ์การตัดสินใจและการแก้ปัญหาการพัฒนาทางด้านค่านิยมจริยธรรมเจตคติต่างๆการพัฒนาทางด้านการคิดการปฏิสัมพันธ์และการทำงานเป็นกลุ่มรวมทั้งการปฏิบัติและการแก้ปัญหาต่างๆรวมทั้งพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษา   พ. ศ. 2542

ตรวจสอบทบทวน



ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้นั้นการเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลปฏิบัติการผลิตหรือจัดหาสื่อที่เกี่ยวข้องเรียนการวางแผนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ได้ดำเนินการแล้วการนำเสนอสาระความรู้ในรูปแบบดิจิทัลอาทิ Power point



ตรวจสอบและทบทวน (Review and Reflect on your learning)



ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล ปฏิบัติการเขียนแผน จัดการเรียนรู้ด้วยเขียนแผนการสอนตามรูปแบบ the STUDIES Model ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้อง กับสาขาวิชาเอกที่เรียน โดยกําหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ และจัดหาหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ประกอบบทเรียน


Mind Mapping









Mind Mapping








Mind Mapping







Mind Mapping









Mind Mapping










วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

MIND MAPPING บทที่ 2


Mind Mapping บทที่ 1


แบบฝึกหัด





1. ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นระหว่างรูปดอกบัวกับรูปเพชร
2. ให้อิสระในการเลือกภาพว่าชอบภาพไหนเพราะอะไรให้เหตุผล








1.        ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นระหว่างรูปดอกบัวกับรูปเพชร 

            Model รูปเพชรนี้รูปทรงอาจจะไม่สวยงาม แต่ภายในมีเนื้อหาที่ชัดเจน มีรายละเอียดของตัวอักษรต่างๆ ว่าคืออะไร หมายถึงอะไร ที่บ่งบอกถึงความชัดเจนของข้อมูล ง่ายต่อผู้ที่ต้องการจะศึกษา ไม่สับสนวุ่นวาย  เพื่อหาความรู้ในข้อมูลดังกล่าว และเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาเองรวมไปถึงผู้ต้องการค้นหาข้อมูลนี้ 



Model รูปดอกบัวนี้ ซึ่งมีความสวยงามแต่เนื้อหาภายในไม่ให้ความชัดเจน ไม่มีรายละเอียดจะมีแค่ตัวอักษรเพียงช่องละตัวเท่านั้น ซึ่งตัวอักษรแต่ละตัวไม่ได้มีคำแค่คำเดียวแต่มีหลายคำหลายความหมาย จึงยากต่อการที่จะเดาว่าตัวอักษรนี้คืออะไร


2.        ให้อิสระในการเลือกภาพว่าชอบภาพไหนเพราะอะไรให้เหตุผล

                  สำหรับดิฉันเลือกรูปนี้ก็เพราะว่า เป็นคนที่ชอบความชัดเจน เปรียบเสมือนกับข้อมูลภายในรูปนี้ ซึ่งมีความชัดเจน มีข้อมูลที่บ่งบอกถึงสิ่งต่างๆ ดูเข้าใจง่าย และไม่สับสนวุ่นวาย












วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Mind Mapping


ตรวจสอบและทบทวน


ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น วิเคราะห์ภาระงาน ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการ ระบุงาน และภาระงาน โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ภาระงานของหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานแล้วระบุเป็นชิ้นงานหรือภาระงานที่ผู้เรียนปฏิบัติ การออกแบบภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ความรู้และทักษะจากขั้นการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (setting learning goals) ลักษณะสําคัญของงานคือ ต้องกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน มีความท้าทาย แต่ไม่ยากเกินไปจนผู้เรียนทําไม่ได้ และในขณะเดียวกันต้องครอบคุมสาระสําคัญทางวิชาและทักษะที่ลึกซึ้ง เพื่อให้สามารถนําผลการประเมินไปใช้ได้อย่างสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ

                  แผนจัดการเรียนรู้

กิจกรรมเสรี
(เวลา 40-60 นาที)

แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
สาระที่ควรเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
หน่วย ผักสดสะอาด
สัปดาห์ที่ 24  วันที่ 22  เดือน พฤศจิกายน  ..  25561


1. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
           ตัวบ่งชี้ที่ 3 รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
มาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
           ตัวบ่งชี้ที่ 2 มีความเมตตากรุณา มีน้ำใจและช่วยเหลือแบ่งปัน
มาตรฐานที่ 6 มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
           ตัวบ่งชี่ที่ 2 มีวินัยในตนเอง
2. สาระการเรียนรู้
            2.1 สาระที่ควรเรียนรู้
                  1. การเล่นมุมประสบการณ์ต่างๆ
            2.2 ประสบการณ์สำคัญ
                   1. การเล่นอิสระ
                   2. การมีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึก  ความสนใจ  และความต้องการของตนเองและผู้อื่น
                   3. การรู้จักแก้ไขปัญหาในการเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับเพื่อน
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
            1. เพื่อให้เด็กสามารถคิดแก้ปัญหาในการเล่นเป็นกลุ่มได้
            2. เพื่อให้เด็กสามารถใช้ภาษาสุภาพช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่นและรู้จักอดทนรอได้
            3. เพื่อให้เด็กรู้จักเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อยได้
4. กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ      
            4.1 เด็กๆและครูร่วมท่องคำคล้องจอง “ เก็บของเข้าที่” โดยครูท่องคำคล้องจองให้เด็กๆฟังแล้วให้เด็กๆท่องตามจนคล่อง  สนทนาเกี่ยวกับมุมเสรี เช่น
                        - คำคล้องจองที่ท่องไปมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้างคะ
ขั้นสอน
            4.2 เด็กๆและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมและสร้างข้อตกลง  เช่น
                        - วันนี้ครูจะให้เด็กๆเล่นตามมุมเสริมประสบการณ์ต่างๆนะคะ มีมุมบ้าน  มุมหนังสือ  มุมวิทยาศาสตร์  บล็อกและมุมเกมการศึกษา
            4.3 เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติกิจกรรม เช่น
                        - ให้เด็กๆเลือกเล่นมุมประสบการณ์ที่เด็กๆสนใจและต้องมีความเอื้อเฟื้อแบ่งกันเล่นนะคะ
                        - ในการเล่นในแต่ละมุมนั้นให้เด็กๆเล่นมุมละ 5- 7 คน  นะคะ
                        - ถ้ามุมใดเกิน 5 -7 คน  ให้ไปเล่นมุมอื่นที่ยังไม่ครบนะคะ
                        - เมื่อครูเคาะกลอง 3 ครั้ง  ให้เด็กๆหยุดเล่นและเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย ครูเคาะกลอง 2 ครั้งให้เด็กๆมาเข้าแถวตามเดิมนะคะ
4.4 เด็กๆและครูร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมตามข้อ 4.3
ขั้นสรุป
            4.5 เด็กๆและครูร่วมกันสรุปกิจกรรมที่ปฏิบัติ  เช่น
                        - เด็กๆคะใครได้เล่นมุมอะไรบ้างคะและในแต่ละมุมมีวิธีการเล่นอย่างไรบ้างคะ
                        - เด็กๆมีวิธีการเล่นของเล่นอย่างไรบ้างคะ
5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
            - มุมประสบการณ์ต่างๆ ได้แก่     มุมบ้าน  มุมหนังสือ  มุมวิทยาศาสตร์  บล็อกและมุมเกมการศึกษา
6. ประเมินพัฒนาการ
สังเกต
-          การเก็บของเล่นของใช้เข้าที่เมื่อมีผู้ชี้แนะ



ขั้นตอนวัตถุประสงค์ของมาร์ซาโน



โรเบิร์ต มาร์ซาโน นักวิจัยทางการศึกษาที่มีชื่อเสียง เสนอสิ่งที่เขาเรียกว่า วัตถุประสงค์ทางการศึกษาใหม่ (2000) โดยพัฒนาจากข้อจำกัดของวัตถุประสงค์ของบลูมและตามสภาพแวดล้อมของการสอนที่อิงมาตรฐาน (standard-based  instruction)
        รูปแบบทักษะการคิดของมาร์ซาโนผนวกปัจจัยที่กว้างขึ้นซึ่งส่งผลกระทบว่านักเรียนคิดอย่างไรและจัดเตรียมทฤษฏีที่อิงงานวิจัยมากขึ้นเพื่อช่วยครูปรับปรุงการคิดของนักเรียน
       
ขั้นตอนวัตถุประสงค์ของมาร์ซาโนนี้ทำขึ้นจากระบบสามประการและขอบเขตของความรู้
ระบบทั้งสามประกอบด้วย
1.ระบบตนเอง (self-system)
2.ระบบอภิปัญญา (metacognitive system)
3.ระบบความรู้ (cognitive system)
เมื่อเผชิญกับทางเลือกของการเริ่มต้นภาระงานใหม่ ระบบตนเองจะตัดสินใจว่าจะทำตามพฤติกรรม
เช่นปัจจุบัน หรือเข้าร่วมในกิจกรรมใหม่ ระบบอภิปัญญาจะกำหนดเป้าหมายและติดตามว่าจะทำได้ดีเพียงใด ส่วนระบบความรู้จะจัดทำกระบวนการให้ข้อมูลที่จำเป็น และขอบเขตความรู้จัดเตรียมเนื้อหาให้

ระบบความรู้
มาร์ซาโนแตกระบบความรู้ออกเป็นสี่องค์ประกอบ
1) การเรียกใช้ความรู้
        การเรียกใช้ความรู้เกี่ยวข้องกับการทวนซ้ำข้อมูลจากความทรงจำถาวร  นักเรียนเพียงแค่เรียกข้อเท็จจริง ลำดับเหตุการณ์ หรือกระบวนการตามที่เก็บไว้ได้อย่างถูกต้อง
        2)ความเข้าใจ
        
ในระดับที่สูงขึ้น ความเข้าใจต้องระบุสิ่งที่สำคัญที่จะจำและวางข้อมูลนั้นไว้ในหมวดหมู่ที่เหมาะสม ดังนั้น  ทักษะแรกของความเข้าใจต้องระบุองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของแนวคิดรวบยอดและตัดทิ้งส่วนที่ไม่สำคัญ
ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับการเดินทางของเลวิสและคลาค(Lewis and Clark) ควรที่จะจำเส้นทางซึ่งนักสำรวจใช้ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับจำนวนอาวุธที่พวกเขานำติดตัวไป
        3)การวิเคราะห์
        การวิเคราะห์คือ การจับคู่ การแยกแยะหมวดหมู่ การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด การกำหนดเป็นกฏเกณฑ์ทั่วไป การกำหนดเฉพาะเจาะจง    ด้วยการเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ผู้เรียนสามารถใช้สิ่งที่กำลังเรียนรู้เพื่อสร้าง องค์ความรู้ใหม่และคิดค้นวิธีการใช้สิ่งที่เรียนรู้ในสถานการณ์ใหม่    
        4)การนำความรู้ไปใช้
         เป็นระดับสุดท้ายของกระบวนการความรู้สอดคล้องกับการใช้ความรู้ประกอบด้วย
        -การตัดสินใจ เป็นกระบวนการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการชั่งน้ำหนักทางเลือกเพื่อกำหนดการกระทำที่เหมาะสมที่สุด
        -การแก้ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับอุปสรรคที่ขัดขวางการไปสู่เป้าหมาย
        -การสืบค้นจากการทดลองเกี่ยวข้องการตั้งสมมติฐานต่อปรากฎการณ์ทางจิตวิทยาและทางกายภาพ
        -การสำรวจสืบค้น คล้ายคลึงกับการสืบค้นจากการทดลอง แต่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต ไม่เหมือนการสืบค้นจากการทดลองซึ่งมีกฎที่เฉพาะเจาะจงเพื่อเป็นหลักฐานที่อยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางสถิติ

ระบบอภิปัญญา
         ระบบอภิปัญญา เป็น การควบคุม” กระบวนการคิดและดูแลระบบอื่น ๆ ทั้งหมด ระบบนี้กำหนดเป้าหมายและทำการตัดสินใจว่าข้อมูลใดที่จำเป็น และกระบวนการความรู้ใดที่เหมาะที่สุดกับเป้าหมาย
ระบบตนเอง
         ระบบนี้ประกอบด้วยทัศนคติความเชื่อและอารมณ์ความรู้สึกซึ่งกำหนดแรงจูงใจของแต่ละบุคคลให้ทำภาระงานให้สำเร็จลุล่วง ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจคือ ความสำคัญ ประสิทธิภาพและอารมณ์ความรู้สึกประกอบด้วย
1) ความสำคัญ
         เมื่อนักเรียนเผชิญหน้ากับภาระงาน การตอบโต้ประการแรกคือตัดสินว่างานนั้นสำคัญต่อตนเองแค่ไหน ใช่สิ่งที่เธอต้องการเรียน หรือเชื่อว่าเธอจำเป็นต้องเรียนหรือไม่ การเรียนรู้จะช่วยให้เธอลุล่วงเป้าหมายที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ได้หรือไม่  
2
) ประสิทธิภาพ
         นักเรียนที่มีระดับประสิทธิภาพของตนเองสูงเมื่อเผชิญกับภาระงานที่ท้าทายจะปะทะด้วยความเชื่อว่าตนเองมีทรัพยากรที่จะประสบความสำเร็จ นักเรียนเหล่านี้จะทุ่มเทให้กับภาระงานอย่างเต็มที่ มุ่งมั่นในการทำงานและเอาชนะการท้าทายวิธีที่นักเรียนสามารถพัฒนาความรู้สึกของการมีประสิทธิภาพในตนเองไว้       วิธีที่ทรงพลังที่สุดคือผ่านทางประสบการณ์ที่เคยทำสำเร็จ ประสบการณ์ดังกล่าวต้องไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป ความล้มเหลวที่เกิดซ้ำ ๆ จะทำให้การมีประสิทธิภาพในตนเองลดลง แต่ความสำเร็จจากภาระงานที่ง่ายเกินไปจะไม่พัฒนาสำนึกของการมุ่งมั่นที่จะเอาชนะอุปสรรค 
3) อารมณ์ความรู้สึก
         อารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวพันกับประสบการณ์การเรียนรู้ ความรู้สึกเหล่านี้มีผลกระทบอย่างมากต่อแรงจูงใจ  เช่นนักเรียนที่มีอารมณ์ความรู้สึกเป็นลบต่อการอ่านหนังสือทางเทคนิคสามารถตัดสินใจที่จะอ่านตำราทางเคมีเมื่อเขารู้สึกตื่นตัวอย่างยิ่งมากกว่าอ่านก่อนที่จะเข้านอน


การคิดวิเคราะห์ตามแนวของมาร์ซาโน
              มาร์ซาโน (Marzano. 2001 : 30 – 60) ได้พัฒนารูปแบบจุดมุ่งหมายทางการศึกษารูปแบบใหม่ ประกอบด้วยความรู้สามประเภทและกระบวนการจัดกระทำข้อมูลระดับดังนี้
ประเภทของความรู้
1.  ข้อมูล   เน้นการจัดระบบความคิดเห็นจากข้อมูลง่ายสู่ข้อมูลยากเป็นระดับความคิด รวบยอด ข้อเท็จจริงลำดับเหตุการณ์ สมเหตุและผลเฉพาะเรื่องและหลักการ   
2.  กระบวนการ   เน้นกระบวนการเพื่อการเรียนรู้จากทักษะสู่กระบวนการอัตโนมัติอันเป็น ส่วนหนึ่งของความสามารถที่สั่งสมไว้   
3.  ทักษะ   เน้นการเรียนรู้ที่ใช้ระบบโครงสร้างกล้ามเนื้อจากทักษะง่ายสู่กระบวนการที่ซับซ้อนขึ้นกระบวนการจัดกระทำกับข้อมูลมี 6ระดับดังนี้
ระดับที่ ขั้นรวบรวม  เป็นการคิดทบทวนความรู้เดิมรับข้อมูลใหม่และเก็บเป็นคลังข้อมูลไว้เป็นการถ่ายโยงความรู้จากความจำถาวรสู่ความจำนำไปใช้ปฏิบัติการโดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจโครงสร้างของความรู้นั้น
ระดับที่ ขั้นเข้าใจ  เป็นการเข้าใจสาระที่เรียนรู้สู่การเรียนรู้ใหม่ในรูปแบบการใช้สัญลักษณ์ เป็นการสังเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานของความรู้นั้นโดยเข้าใจประเด็นสำคัญ
ระดับที่ขั้นวิเคราะห์  เป็นการจำแนกความเหมือนและความแตกต่างอย่างมีหลักการ การจัดหมวดหมู่ที่สัมพันธ์กับความรู้การสรุปอย่างสมเหตุสมผลโดยสามารถบ่งชี้ข้อผิดพลาดได้การประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่โดยใช้ฐานความรู้และการคาดการณ์ผลที่ตามมาบนพื้นฐานของข้อมูล
ระดับที่ขั้นใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์  เป็นการตัดสินใจในสถานการณ์ที่ไม่มีคำตอบชัดเจน การแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยาก การอธิบายปรากฏการณ์ที่แตกต่าง และการพิจารณาหลักฐานสู่การสรุป สถานการณ์ที่มีความซับซ้อน การตั้งข้อสมมุติฐานและการทดลองสมมุติฐานนั้นบนพื้นฐานของความรู้  
ระดับที่ขั้นบูรณาการความรู้  เป็นการจัดระบบความคิดเพื่อบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนด การกำ กับติดตามการเรียนรู้และการจัดขอบเขตการเรียนรู้
ระดับที่ ขั้นจัดระบบแห่งตน  เป็นการสร้างระดับแรงจูงใจต่อภาวะการณ์เรียนรู้และภาระ งานที่ได้รับมอบหมายในการเรียนรู้รวมทั้งความตระหนักในความสามารถของการเรียนรู้ที่ตนมี   ขั้นการคิดวิเคราะห์ของมาร์ซาโน (Marzano. 2001 :อ้างอิงจาก ประพันธศิริ สุเสารัจ.  58)
จำแนกเป็น   
1.  ทักษะการจำแนก  เป็นความสามารถในการแยกแยะส่วนย่อยต่างๆ ทั้งเหตุการณ์ เรื่องราวสิ่งของออกเป็นส่วน
ย่อย ๆ ให้เข้าใจง่ายอย่างมีหลักเกณฑ์สามารถบอกรายละเอียดของสิ่งต่างๆได้  
2.  ทักษะการจัดหมวดหมู่ เป็นความสามารถในการจัดประเภท จัดลำดับ จัดกลุ่มของสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเข้าด้วยกัน โดยยึดโครงสร้างลักษณะหรือคุณสมบัติที่เป็นประเภทเดียวกัน
3.  ทักษะการเชื่อมโยง  เป็นความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ ว่าสัมพันธ์กันอย่างไร  
4.  ทักษะการสรุปความ เป็นความสามารถในการจับประเด็นและสรุปผลจากสิ่งที่กำหนดให้   
5.  การประยุกต์เป็นความสามารถในการนำความรู้หลักการและทฤษฎีมาใช้ใน สถานการณ์ต่าง ๆ สามารถคาดการณ์ กะประมาณ พยากรณ์ ขยายความ คาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
การคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของบลูมและมาร์ซาโน มีความคล้ายคลึงกัน ดังนี้
บลูม                                                                             มาร์ซาโน
1.  วิเคราะห์ความสำคัญ                                         1.  การจำแนก
2.  การจัดหมวดหมู่                                                2.  วิเคราะห์ความสัมพันธ์
3.  การเชื่อมโยง                                                      3.  วิเคราะห์หลักการ 
4.  การสรุปความ
5.  การประยุกต์ 








ที่มา: Marzano.2001 :อ้างอิงจาก ประพันธศิริ  สุเสารัจ  58.
         www.mathayom9.go.th