วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เนื้อหา



บทที่1

The STUDIES Model: การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน

            การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามรูปแบบ The STUDIES Model มีจุดหมายสำคัญเพื่อตอบสนองหลักการและเหตุผลสำคัญในการกำหนดแนวทางพัฒนาวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตร19 (4) file:///C:/Users/Administrator/Downloads/file_14c4d1884440278aa6dd4b97890cd182.pdf ที่ได้กำหนดบทบัญญัติให้มีหลับการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง
            รูปแบบ TIME STUDIES Model มุ่งพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้มีความรู้ความสามารถคุณลักษณะความเป็นครูตามมาตรฐานวิชาชีพตามที่คุรุสภาได้ประกาศเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพไว้และสอดคล้องกับแนวคิดอาจารย์มืออาชีพแนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา (ไพฑูรย์ สินลารัตน์ 2550 บรรณาธิการเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย) ในการปรับปรุงคุณภาพด้านการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาในประเด็นการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นสัมฤทธิ์ผลในการปรับปรุงซ้ายภาพการเรียนของนักศึกษาผ่านกระบวนการเรียนการสอนเป็นหลัก

กรอบแนวคิดที่มา The STUDIES Model
            รูปแบบ The STUDIES Model เป็นผลสืบเนื่องจากการศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ศึกษาวิเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐในการจัดการศึกษายุค Thailand 4.0 หรือยุคการศึกษา 4.0 มาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2556 แนวบทบาทการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Learning Method: CLM) การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design of Instruction; UDI) การวัดผลการเรียนรู้ การกำหนดระดับความเข้าใจ ในการกำหนดค่าระดับคุณภาพการเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO Taxonomy ผลการศึกษาวิจัยได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เรียกว่า The STUDIES Model มีรายละเอียดกรอบแนวคิด (The STUDILS Model framework) ดังภาพประกอบที่ http://site.ksp.or.th/download.php?site=kspknowledge&SiteMenuID=4201       องค์ความรู้ทางวิชาชีพทางการศึกษา คุรุสภา

ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และปรับปรุง2553
2.มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาสาขาครุศาสตร์และหรือสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี)
3. มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา

4. หลักสูตรการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญปรับปรุง 2553
5. การศึกษา 4.0
6. การกำหนดระดับความเข้าใจในการกำหนดค่าระดับ SOLO Taxonomy

รูปแบบ The STUDIES Model
            รูปแบบ The STUDIES Model มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครูมีความรู้ความเข้าใจบทบาทที่สำคัญในฐานะผู้เรียนที่จะต้องศึกษาศาสตร์การสอนและมีบทบาทในฐานะผู้สอนที่จะนำความรู้ไปจัดการเรียนรู้และจัดการชั้นเรียนรายละเอียดดังภาพประกอบที่ 2

รูปภาพ

ภาพประกอบที่ 2 รูปแบบ The STUDIES model ที่มาพิจิตราธงพานิชการพัฒนารูปแบบ The STUDIES NModel เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 2561: 7
           
             รูปแบบ The STUDIES Model มี 7 ขั้นตอนดังรายละเอียดต่อไปนี้
            S: กำหนดจุดหมายการเรียนรู้ (Setting learning goals) การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้ผู้เรียนต้องระบุจุดหมายการเรียนรู้ (goals) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ โดยการระบุความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) และระบุทักษะ การปฏิบัติหรือกระบวนการ (procedural knowledge) จุดหมายการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยจำนวนของบทเรียน ปริมาณเนื้อหาสาระหรือความรู้สูงสุด แต่หมายถึงความคาดหวังที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้
             T: วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และเจตคติ (Attitude) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยน้าทางผู้เรียนไปสู่จุดหมายการเรียนรู้ การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ Knowledge-Skill-Attitudes
            U: การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction UDI) เป็นการออกแบบการสอนที่ครูมีบทบาทเป็นผู้ดำเนินการเชิงรุก(proactive) เกี่ยวกับการผลิตและหรือจัดหาจัดทำหรือชี้แนะผลิตภัณฑ์การศึกษา (educational products (Computers, websites, software, textbooks, and lab equipment) และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (dormitories, classrooms, student union buildings, libraries, and distance learning courses.) ที่จะระบุถึงในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน
            D: การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายเช่นเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networking) การแชร์ภาพ และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศแต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหา (content) จริยธรรมสังคมและการสะท้อน (Reflection) ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้การทำงานและชีวิตประจำวัน
            I : การบูรณาการความรู้ ( Integrated Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ต่าง ๆ ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated learning Management) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์เชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ทักษะและเจตคติ
            E: การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน (Evaluation to Improve Teaching) การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง โดยกำหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้ (Cognitive Domain) ของบลูม (Bloom's Taxonomy) การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมงานเป็นการตรวจสอบ การบรรลุจุดหมายการเรียนรู้
            S: การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐานโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (Structure of Observed Learning Outcomes: SOLO Taxonomy) มากำหนดระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นการตรวจสอบคุณภาพการเรียนรู้ รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายใน และการประเมินคุณภาพภายนอก
สรุป
            การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนเป็นวิชาที่นักศึกษาวิชาชีพครูจะต้องศึกษาไว้ให้แตกฉานรูปแบบ The STUDIES Model เป็นการนำเสนอให้รู้จักหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการจัดการเรียนรู้กล่าวได้ว่าการรู้รูปแบบ The STUDIES Model อย่างเดียวแต่ถ้าไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง ๆ ก็คงสอนไม่ได้ดีรูปแบบ The STUDIES Model พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้สอนได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าในการจัดการเรียนรู้ควรจะปรับปรุงแก้ไขประเด็นใดเมื่อผู้สอนได้แบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ชัดเจนแล้วการจัดการเรียนรู้ต่อไปก็จะง่ายขึ้นถ้าเป็นไปได้ก็คิดขั้นตอนกระบวนการของตนเองขึ้นมาบ้างไม่ต้องเดินตามวิธีการที่คนอื่นกำหนดไว้เสมอไป
ตรวจสอบและทบทวน
            สืบค้นมาตรฐานวิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภามาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพมาตรฐานที่ 6 การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนนำมากำหนดจุดหมาย (Goals) ในการศึกษารายวิชาเพื่อการบรรลุมาตรฐานดังกล่าวนี้

 Weblink   http://www.ksp.or.th/ksp2013/content/view.php?did=136&did=1193  
รูปภาพสำหรับ the studies model พิจิตราธง พานิช

ด้านสาระความรู้ที่ครูผู้สอนต้องมี
-หลักการแนวคิดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำแผนการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ผู้เรียนการเรียนรู้
 -ทฤษฎีและรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์คิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาได้
-มีการบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม
-การจัดการชั้นเรียน 
-การพัฒนาศูนย์การเรียนในสถานศึกษา
สมรรถนะ
-สามารถจัดทำแผนการเรียนรู้และนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลจริง
-สามารถสร้างบรรยากาศการจัดการชั้นเรียนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น